ReadyPlanet.com
dot
dot
สินค้าของเรา
dot
bulletกากชากำจัดหอยเชอรี่
bulletกากชากำจัดปลาในบ่อกุ้ง
bulletสารกำจัดแมลงในสนามกอล์ฟ
bulletกากชาบรรจุกระสอบละ 50 Kg.
bulletโรงงานกากชาตรากระทิง
bulletเสียงจากเกษตรกร
dot
เกี่ยวกับหอยเชอรี่
dot
bulletหอยเชอรี่
dot
กากชาตรากระทิง
dot
bulletคุณสมบัติของกากชา
bulletวิธีการใช้กากชา
bulletแหล่งผลิตกากชา
dot
ปุ๋ย ยาสำหรับนาข้าว
dot
bulletปุ๋ยนาข้าว
bulletยากำจัดแมลง
bulletยากำจัดวัชพืช
bulletยากำจัดโรคพืช
dot
โรค แมลง ศัตรูพืชในนาข้าว
dot
bulletแมลงศัตรูพืชในนาข้าว
bulletวัชพืชในนาข้าว
bulletโรคต่างๆในข้าว
dot
การปลูกข้าว
dot
bulletการปลูกข้าวหอมมะลิ
bulletการทำนาดำ
bulletการทำนาหว่าน
bulletการทำนาหยอด
bulletการโยนกล้า
dot
พันธุ์ข้าว
dot
bulletพันธุ์ข้าว ไวต่อแสง
bulletพันธุ์ข้าว ไม่ไวต่อแสง
dot
เกี่ยวกับข้าว
dot
bulletการขาดธาตุอาหารของข้าว
bulletการเก็บรักษาข้าวเปลือก
bulletการเก็บเกี่ยว
bulletการตากข้าว
bulletศัตรูพืชในโรงเก็บข้าวเปลือก




ศัตรูพืชในโรงเก็บข้าวเปลือก

แมลงศัตรูในโรงเก็บและการป้องกันกำจัด

    1. ผีเสื้อข้าวเปลือก (Sitotroga cerealella Olivier)

            ผีเสื้อข้าวเปลือก (Angoumois Grain moth: Sitotroga cerealella Olivier) เป็นแมลงศัตรูสำคัญที่สุดของข้าวเปลือก เข้าทำลายโดยการวางไข่ที่เมล็ดข้าวเปลือก ตั้งแต่ยังอยู่ในนา ตัวอ่อนจะอาศัย และกัดกินภายในเมล็ดจนเหลือแต่เปลือก เมื่อเข้าไปในยุ้งฉาง หรือโรงสี จะเห็นผีเสื้อข้าวเปลือกบินหรือเกาะอยู่บนกองข้าว ดังนั้นการทำลายจึงมักจะมีเฉพาะส่วนบนของกองข้าวเท่านั้น การทำลายของผีเสื้อข้าวเปลือกจะสูงเมื่อทำการเก็บเกี่ยวล่าช้า

            ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อที่มีขนาดเล็กมาก สีน้ำตาลอ่อน เมื่อกางปีกออกยาวประมาณ 12 มิลลิเมตร ปีกหลังมีสีออกเทา ตามปีกมีขนยาวๆเป็นแผงซึ่งมีความยาวมากกว่าความกว้างของปีก ปลายปีกจะโค้งแหลมยื่นออกไป เมื่อเกาะอยู่ปีกจะหุบขนานกับลำตัว ไข่มีสีขาวรูปยาวรี และจะฟักภายใน 4-6 วัน ตัวอ่อนจะเจาะเข้าไปอาศัยในเมล็ด ประมาณ 26-35 วัน ก็จะเข้าดักแด้ ระยะดักแด้ 3-6 วัน เมื่อเป็นตัวเต็มวัยจะเจาะผิวเมล็ดออกมา ทำให้เมล็ดเป็นรู และมีชีวิตอยู่ได้เพียง 3-7 วัน วงจรชีวิตใช้เวลา 36-42 วัน

 

    2. มอดข้าวเปลือก (Rhyzopertha dominica F.)

            มอดข้าวเปลือก (Lesser Grain Borer: Rhyzopertha dominica F.) เป็นแมลงศัตรูสำคัญของข้าวเปลือก ทั้งตัวอ่อน และตัวเต็มวัย โดยตัวอ่อนจะอาศัยและกัดกินอยู่ภายในเมล็ด จนกลายเป็นตัวจึงเจาะออกมาจากเมล็ด ทำให้เมล็ดเหลือแต่เปลือก ส่วนตัวเต็มวัยจะแทะเล็มเมล็ดให้เป็นรอยหรือเป็นรู และสามารถบินได้ไกล จึงทำให้ระบาดไปยังโรงเก็บอื่นๆได้ง่าย

            ตัวเต็มวัยมีรูปร่างทรงกระบอกสีน้ำตาลเข้มปนแดง มีความยาว 2.5-3.0 มิลลิเมตร ส่วนหัวสั้นและงุ้มซ่อนอยู่ใต้อกปล้องแรก เมื่อมองดูด้านบนจะเห็นส่วนของอกเป็นหัว จึงทำให้มีชื่อว่า มอดหัวป้อม ไข่เมื่อฟักเป็นตัวหนอนมีลักษณะขาวขุ่น ระยะตัวอ่อน 21-28 วัน และเข้าดักแด้ภายในเมล็ด 6-8 วัน แล้วจึงเจาะเมล็ดออกมาเมื่อเป็นตัวเต็มวัย วงจรชีวิตใช้เวลา 1 เดือนขึ้นไป ตัวเต็มวัยมีชีวิตอยู่นาน 5 เดือน หรือมากกว่า

 

    3. ด้วงงวงข้าว (Sitophillus spp.)

            ด้วงงวงเป็นแมลงที่พบทำลายทั้งข้าวเปลือก และข้าวสาร ตัวเต็มวัยของด้วงงวงมีสีน้ำตาลดำ ยาวประมาณ 2.0-3.0 มิลลิเมตร ส่วนหัวจะยื่นออกมาป็นงวง สามารถบินออกไปทำลายเมล็ดพืชตั้งแต่ยังอยู่ในไร่นา ตัวเมียวางไข่บนเมล็ดขณะที่เมล็ดเริ่มสุกแก่ ไข่จะฟักในระยะ 3-6 วัน ตัวอ่อนสีขาว ลำตัวสั้นป้อม และอาศัยกัดกินอยู่ภายในเมล็ด ระยะตัวอ่อน 20-30 วัน จึงเข้าดักแด้ นาน 3-7 วัน เมื่อเป็นตัวเต็มวัย จะเจาะผิวเมล็ดออกมาทำให้เมล็ดเป็นรู วงจรชีวิตใช้เวลา 30-40 วัน ตัวเต็มวัยมีชีวิตอยู่ได้นาน 1-2 เดือน หรือมากกว่า

 

    4. ผีเสื้อข้าวสาร (Corcyra cephalonica Stainton)

            ผีเสื้อข้าวสาร (Rice moth: Corcyra cephalonica Stainton) เป็นแมลงศัตรูของข้าวสาร โดยเฉพาะข้าวสารที่เก็บไว้เป็นเวลานาน ทำให้ข้าวสารเสื่อมคุณภาพจนไม่สามารถบริโภคได้ เกิดจากตัวอ่อนของผีเสื้อข้าวสารไปชักใยอยู่ระหว่างเมล็ดข้าว ทำให้ข้าวสารติดกันเป็นกลุ่ม และตัวอ่อนจะอาศัยแทะเล็มข้าวสารอยู่ภายในใยนั้น นอกจากนี้ยังขับถ่ายของเสียออกมาเป็นเม็ดเล็กๆ กระจายอยู่เต็มกองข้าว ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อขนาดกลางสีน้ำตาลอ่อน ไข่จะฟักใน 4-5 วัน เป็นตัวอ่อนสีขาวปนเทา ตัวอ่อนจะสร้างใยปกคลุมตัวเองไว้ ระยะตัวอ่อน 28-41 วัน จึงเข้าดักแด้ในปลอกที่สร้างขึ้นภายหลัง ระยะดักแด้ 6-13 วัน จึงเป็นตัวเต็มวัย วงจรชีวิตใช้เวลา 30-40 วัน

 

    การป้องกันกำจัด มี 2 วิธี คือ

            1. การป้องกันกำจัดโดยไม่ใช้สารเคมี มีข้อควรปฏิบัติ คือ

                    1.1 การรักษาความสะอาดและการจัดการโรงเก็บ ควรเตรียมความพร้อมของสภาพโรงเก็บ ทำความสะอาดพื้นและส่วนต่างๆของโรงเก็บ ทั้งภายในและภายนอก ก่อนที่จะนำข้าวเข้าเก็บรักษา และต้องดูแลทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ ตลอดระยะเวลาของการเก็บรักษา จะทำให้การแพร่ระบาดทำลายของแมลงน้อยลง

                    1.2 การลดความชื้นในเมล็ด ก่อนนำเข้าเก็บรักษาเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะนอกจากช่วยป้องกันการเข้าทำลายของแมลงแล้ว ยังทำให้อายุการเก็บรักษานานขึ้น การลดความชื้นเมล็ดลงเหลือ 10% จะพบแมลงทำลายน้อย หากลดความชื้นในเมล็ดต่ำกว่า 8% มักไม่พบแมลงทำลาย

                    1.3 การควบคุมโดยใช้อุณหภูมิ

            ความร้อน การใช้อุณหภูมิ 42 องศาเซลเซียส ติดต่อกันจะทำให้แมลงบางชนิดหยุดการเจริญเติบโตและตายได้ และหากใช้อุณหภูมิระหว่าง 55-60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 12 ชั่วโมง หรือ อุณหภูมิระหว่าง 65 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 15 นาที จะทำให้แมลงทุกชนิดตายหมด

            ความเย็น การเก็บเมล็ดข้าวที่อุณหภูมิต่ำกว่า 12 องศาเซลเซียส จะทำให้แมลงหยุดการเจริญเติบโต และขยายพันธุ์ได้ และแมลงจะตายหมดที่อุณหภูมิ –2 ถึง –5 องศาเซลเซียส

                    1.4 การเก็บรักษาในสภาพสุญญากาศ หรือภาชนะที่ปิดมิดชิด แมลงต้องการออกซิเจนเพื่อการหายใจ เมื่ออยู่ในที่ไม่มีอากาศผ่านก็ทำให้แมลงตายได้

                    1.5 การใช้สารหรือวัสดุบางอย่างคลุกกับเมล็ด เช่น ปูนขาว ขี้เถ้า แกลบ ทราย หรือส่วนของพืช เช่น เมล็ดสะเดา พริกไทย และเปลือกส้ม สามารถลดการทำลายของแมลงบางชนิดได้

 

            2. การป้องกันและกำจัดโดยใช้สารเคมี

 

            เป็นวิธีที่นิยมปฏิบัติ เพราะเป็นการป้องกันและกำจัดที่ได้ผลและรวดเร็ว แต่ต้องคำนึงถึงการใช้ประโยชน์ของเมล็ดพืช ถ้าใช้เป็นเมล็ดพันธุ์ก็อาจใช้สารเคมีที่ออกฤทธิ์นาน และอัตราสูงได้ แต่ถ้าใช้ในเมล็ดเพื่อการบริโภค ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค โดยใช้สารที่สลายตัวได้ในเวลาที่กำหนด และควรใช้ในตามคำแนะนำ

    สารฆ่าแมลงที่ใช้สำหรับผลิตผลในโรงเก็บ แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ

                    2.1 สารฆ่าแมลง มีทั้งชนิดของเหลว และผง มีคุณสมบัติในการฆ่าแมลงทั้งถูกตัวตาย กินแล้วตาย หรือได้กลิ่นหรือไอระเหยตาย สารฆ่าแมลงที่มีความเป็นพิษต่ำ ในกลุ่มออแกโนฟอสฟอรัส ได้แก่ fenitrothion (ชื่อการค้า :Sumithion) chlorpyrifos methyl (ชื่อการค้า :Reldan) methacrifos (ชื่อการค้า :Damfin) และ dichlorvos ในกลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์ ได้แก่ permithrin, cypermethrin (ชื่อการค้า :K-orthene) deltamethrin (ชื่อการค้า :Ripcord) และ betacyfluthrin

                    2.2 สารรม เป็นสารเคมีที่เป็นพิษ ในรูปของไอหรือควัน มีลักษณะเป็นเม็ด ของเหลว หรือก๊าซ สารพิษจะออกฤทธิ์ในรูปก๊าซ มีผลทำให้แมลงตาย สารที่สำคัญและนิยมใช้ คือ

                        1). การพ่นภายในและภายนอกโรงเก็บ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีแมลงรอดชีวิตอยู่ ควรกระทำหลังทำความสะอาดโรงเก็บ ก่อนที่จะนำผลิตผลเข้าเก็บ โดยใช้สารฆ่าแมลง เช่น phoxim, fenitrothion และ chlorpyrifos methyl อัตรา 0.5–2.0 g.ai/m2. พ่นตามพื้นและฝาโรงเก็บให้ทั่ว

                        2). การพ่นแบบหมอกควัน โดยใช้เครื่องพ่นหมอกควัน พ่นไปบนกองเมล็ดพืชที่เก็บไว้ในยุ้งฉาง โรงเก็บ หรือห้องที่มีสภาพปิดได้มิดชิด วิธีนี้สามารถกำจัดผีเสื้อข้าวเปลือก ได้เป็นอย่างดี สารฆ่าแมลงที่ใช้คือ fenitrothion อัตรา 20 มิลลิลิตร หรือ esbioallethrin deltamethrin (DeltacideR ) อัตรา 5 มิลลิลิตร ผสมน้ำมันโซล่า 100 มิลลิลิตร ต่อข้าวเปลือก 6 ตัน

 

        

 




เกี่ยวกับข้าว

การขาดธาตุอาหารของข้าว
การเก็บเกี่ยว
การตากข้าว
การเก็บรักษาข้าวเปลือก
การนวดข้าว
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปุ๋ย
การจัดการดินและปุ๋ย
การผสมปุ๋ยเคมีใช้เอง
การใช้ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน



Copyright © 2012 All Rights Reserved.
กากชาตรากระทิง คุณภาพดี ราคาถูก จัดส่งทั่วประเทศ บริษัท ทวีผลเกษตรธรรมชาติ จำกัด 770/60 หมู่6 แขวงจอมทอง เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150 โทรศัพท์ : 034-824563-4 แฟกซ์ : 034-823168 สายตรงแผนกขาย : 081-9354335, 081-62284995 E-mail : twpagri@hotmail.com www.ktkrating.com