ReadyPlanet.com
dot
dot
สินค้าของเรา
dot
bulletกากชากำจัดหอยเชอรี่
bulletกากชากำจัดปลาในบ่อกุ้ง
bulletสารกำจัดแมลงในสนามกอล์ฟ
bulletกากชาบรรจุกระสอบละ 50 Kg.
bulletโรงงานกากชาตรากระทิง
bulletเสียงจากเกษตรกร
dot
เกี่ยวกับหอยเชอรี่
dot
bulletหอยเชอรี่
dot
กากชาตรากระทิง
dot
bulletคุณสมบัติของกากชา
bulletวิธีการใช้กากชา
bulletแหล่งผลิตกากชา
dot
ปุ๋ย ยาสำหรับนาข้าว
dot
bulletปุ๋ยนาข้าว
bulletยากำจัดแมลง
bulletยากำจัดวัชพืช
bulletยากำจัดโรคพืช
dot
โรค แมลง ศัตรูพืชในนาข้าว
dot
bulletแมลงศัตรูพืชในนาข้าว
bulletวัชพืชในนาข้าว
bulletโรคต่างๆในข้าว
dot
การปลูกข้าว
dot
bulletการปลูกข้าวหอมมะลิ
bulletการทำนาดำ
bulletการทำนาหว่าน
bulletการทำนาหยอด
bulletการโยนกล้า
dot
พันธุ์ข้าว
dot
bulletพันธุ์ข้าว ไวต่อแสง
bulletพันธุ์ข้าว ไม่ไวต่อแสง
dot
เกี่ยวกับข้าว
dot
bulletการขาดธาตุอาหารของข้าว
bulletการเก็บรักษาข้าวเปลือก
bulletการเก็บเกี่ยว
bulletการตากข้าว
bulletศัตรูพืชในโรงเก็บข้าวเปลือก




พันธุ์ข้าว ไวต่อแสง

พันธุ์ข้าวไทย

พันธุ์ข้าวนาสวนไวต่อช่วงแสง

ชื่อพันธุ์กข5 (RD5)

ชนิดข้าวเจ้า

คู่ผสมพวงนาค 16 / ซิกาดิส

ประวัติพันธุ์ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์พวงนาค 16 ของไทยกับพันธุ์ซิกาดิส ของอินโดนีเซีย ได้ผสมพันธุ์และคัดพันธุ์แบบสืบตระกูลที่สถานีทดลองข้าวบางเขน เมื่อปี พ.ศ.2508 จนได้สายพันธุ์ BKN6517-9-2-2

การรับรองพันธุ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรองเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2516

ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้าต้นสูง สูงประมาณ 145 เซนติเมตรเป็นพันธุ์ข้าวไวต่อช่วงแสงเล็กน้อย เหมาะที่จะปลูกเป็นข้าวนาปี ถ้าปลูกตามฤดูกาลจะเก็บเกี่ยวได้ปลายเดือนพฤศจิกายน แต่ถ้าปลูกในฤดูนาปรังหรือไม่ปลูกตามฤดูกาล อายุจะอยู่ระหว่าง 140-160 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเดือนที่ลำต้นสีม่วง มีรวงยาว ต้นแข็งไม่ล้มง่ายปลูกระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 6 สัปดาห์เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางก้นจุดท้องไข่น้อย

 

ชื่อพันธุ์กข6 (RD6)

ชนิดข้าวเหนียว

ประวัติพันธุ์ได้จากการปรับปรุงพันธุ์ โดยการใช้รังสีชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ โดยใช้รังสีแกมมาปริมาณ 20 กิโลแรด อาบเมล็ดพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 แล้วนำมาปลูกคัดเลือกที่สถานีทดลองข้าวบางเขนและสถานีทดลองข้าวพิมาย จากการคัดเลือกได้ข้าวเหนียวหลายสายพันธุ์ในข้าวชั่วที่ 2 นำไปปลูกคัดเลือกจนอยู่ตัวได้สายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงสุดคือ สายพันธุ์ KDML105'65-G2U-68-254 นับว่าเป็นข้าวพันธุ์ดีพันธุ์แรกของประเทศไทย ที่ค้นคว้าได้โดยใช้วิธีชักนำพันธุ์พืชให้เปลี่ยนกรรมพันธุ์โดยใช้รังสี

การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2520

ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเหนียว สูงประมาณ 154 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงทรงกอกระจายเล็กน้อย ใบยาวสีเขียวเข้ม ใบธงตั้ง เมล็ดยาวเรียวเมล็ดข้าวเปลือกสีน้ำตาลอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 21 พฤศจิกายนระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 5 สัปดาห์

 

ชื่อพันธุ์กข8 (RD8)

ชนิดข้าวเหนียว

คู่ผสมเหนียวสันป่าตอง*2 / ไออาร์ 262

ประวัติพันธุ์ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์เหนียวสันป่าตอง กับพันธุ์ไออาร์ 262 ในปี พ.ศ.2509 แล้วผสมกลับไปหาพันธุ์เหนียวสันป่าตองอีกครั้งหนึ่ง ในปี พ.ศ.2510 โดยผสมพันธุ์และคัดเลือกที่สถานีทดลองข้าวบางเขนได้สายพันธุ์ BKN6721 เมล็ดพันธุ์ผสมชั่วที่ 2 ถูกส่งไปให้สถานีทดลองข้าวขอนแก่นทำการปลูกคัดเลือกต่อ และได้เปลี่ยนชื่อคู่ผสมตามรหัสของสถานีเป็นสายพันธุ์ KKN6721 สถานีทดลองข้าวขอนแก่นได้ทำการคัดเลือกและปลูกเปรียบเทียบผลผลิต จนได้สายพันธุ์ KKN6721-5-7-4

การรับรองพันธุ์

คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2521

ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเหนียว สูงประมาณ 150 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 23 พฤศจิกายนลำต้นและใบสีเขียวเข้ม ใบธงตั้ง ฟางแข็ง ชูรวงอยู่เหนือใบ เมล็ดข้าวค่อนข้างป้อม ลำต้นแข็งเมล็ดข้าวเปลือกสีเหลืองระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 3 สัปดาห์

 

ชื่อพันธุ์กข13 ( RD13 )

ชนิดข้าวเจ้า

คู่ผสมนางพญา 132 / ผักเสี้ยน 39

ประวัติพันธุ์ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์นางพญา 132 กับพันธุ์ผักเสี้ยน 39 ที่สถานีทดลองข้าวบางเขน ในปี พ.ศ.2507 แล้วนำข้าวพันธุ์ผสมชั่วที่ 2 ไปปลูกคัดเลือกที่สถานีทดลองข้าวควนกุฎ จังหวัดพัทลุง จนได้สายพันธุ์ BKN6402-352

การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2521

ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 160 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงลำต้นตั้งตรง สีเขียว ใบธงตก ชูรวงอยู่เหนือใบ ระแง้ถี่อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 26 กุมภาพันธ์เมล็ดข้าวเปลือกสีน้ำตาลท้องไข่ปานกลาง

ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 3 สัปดาห์

 

ชื่อพันธุ์กข15 (RD15)

ชนิดข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์ได้จากการปรับปรุงพันธุ์ โดยการใช้รังสีชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ โดยใช้รังสีแกมมาปริมาณ 15 กิโลแรด อาบเมล็ดพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในปี พ.ศ. 2508 แล้วนำมาปลูกคัดเลือกที่สถานีทดลองข้าวต่างๆ ในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จนได้สายพันธุ์ KDML 105'65G1U-

การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2521

ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 140 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 10 พฤศจิกายนลำต้นและใบสีเขียวอ่อน ใบธงทำมุมกับคอรวง รวงอยู่เหนือใบ ใบยาว ค่อนข้างแคบเมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ปลายบิดงอเล็กน้อยระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 7 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.1 x 7.5 x 1.7 มิลลิเมตร

 

ชื่อพันธุ์กข27 (RD27)

ชนิดข้าวเจ้า

คู่ผสมขาวตาอู๋ / ขาวตาแห้ง 17

ประวัติพันธุ์ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ขาวตาอู๋ กับ พันธุ์ขาวตาแห้ง 17 ที่สถานีทดลองข้าวบางเขน เมื่อปี พ.ศ. 2504 แล้วทำการคัดเลือกและปลูกเปรียบเทียบผลผลิตจนได้สายพันธุ์ BKN6113-79

การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรองเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2524

ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 160 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยวประมาณ วันที่ 10 ธันวาคมมีลำต้นและใบสีเขียว ทรงกอค่อนข้างตั้ง ต้นใหญ่ และใบยาวเมล็ดค่อนข้างป้อม ข้าวเปลือกสีฟางระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 8 สัปดาห์ท้องไขน้อยเมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา= 2.3 x 7.5 x 1.8 มิลลิเมตร

 

ชื่อพันธุ์กำผาย 15 (Gam Pai 15)

ชนิดข้าวเหนียว

ประวัติพันธุ์ได้จากการรวบรวมพันธุ์โดยพนักงานเกษตรอำเภอ จากอำเภอเมือง จังหวัดลำพูน เมื่อ พ.ศ. 2493-2494 จำนวน 99 รวง และปลูกเปรียบเทียบพันธุ์ที่สถานีทดลองข้าวพาน และสถานีทดลองข้าวสันป่าตอง ระหว่าง พ.ศ.2500-2505 คัดเลือกได้สายพันธุ์ กำผาย 30-12-15

การรับรองพันธุ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ุ เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2505

ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเหนียวต้นสูง สูงประมาณ 168 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 30 พฤศจิกายนระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 6 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.8 x 7.2 x 2.0 มิลลิเมตร

ชื่อพันธุ์เก้ารวง 88 (Gow Ruang 88)

ชนิดข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์ได้จากการรวบรวมพันธุ์โดยพนักงานเกษตร จากอำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2493-2494 จำนวน 203 รวง แล้วนำไปคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ตามสถานีทดลองข้าวต่างๆ จนได้สายพันธุ์ เก้ารวง 17-2-88

การรับรองพันธุ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2505

ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 140 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงลำต้นและใบสีเขียวเข้ม เมล็ดข้าวรูปร่างเรียวยาวข้าวเปลือกสีฟางอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 21 พฤศจิกายนระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 8 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา =2.2 x 7.3 x 1.7 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 22-26%คุณภาพข้าวสุก ร่วน นุ่ม

 

ชื่อพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 (Khao Dawk Mali 105)

ชนิดข้าวเจ้าหอม

ประวัติพันธุ์ได้มาโดยนายสุนทร สีหะเนิน เจ้าพนักงานข้าว รวบรวมจากอำเภอบางคล้าจังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อ พ.ศ.2493-2494 จำนวน 199 รวง แล้วนำไปคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ (Pure Line Selection) และปลูกเปรียบเทียบพันธุ์ที่สถานีทดลองข้าวโคกสำโรง แล้วปลูกเปรียบเทียบพันธุ์ท้องถิ่นในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จนได้สายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 4-2-105 ซึ่งเลข 4 หมายถึง สถานที่เก็บรวงข้าว คืออำเภอบางคล้า เลข 2 หมายถึงพันธุ์ทดสอบที่ 2 คือ ขาวดอกมะลิ และเลข 105 หมายถึง แถวหรือรวงที่ 105 จากจำนวน 199 รวง

การรับรองพันธุ์คณะกรรมการการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2502

ลักษณะประจำพันธุ์

เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 140 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงลำต้นสีเขียวจาง ใบสีเขียวยาวค่อนข้างแคบ ฟางอ่อน ใบธงทำมุมกับคอรวง เมล็ดข้าวรูปร่างเรียวยาวข้าวเปลือกสีฟางอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 25 พฤศจิกายนเมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.1 x 7.5 x 1..8 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 12-17%คุณภาพข้าวสุก นุ่ม มีกลิ่นหอม

 

ชื่อพันธุ์ขาวตาแห้ง 17 (Khao Tah Haeng 17)

ชนิดข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์เป็นพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่ชนะการประกวดเมื่อ พ.ศ.2499 แล้วนำไปปลูกคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ ตามสถานีทดลองข้าวต่างๆ ทั่วประเทศ คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ให้ใช้ขยายพันธุ์เมื่อ พ.ศ.2499 แต่เนื่องจากไม่ต้านทานโรคไหม้ จึงได้ยกเลิกไปเมื่อ พ.ศ.2506 และได้นำกลับมาขยายพันธุ์ใหม่ ในปี พ.ศ.2508 เนื่องจากเป็นพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพดี โรงสีรับซื้อและให้ราคาดี จึงเป็นที่นิยมปลูกของชาวนามาโดยตลอด

การรับรองพันธุ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ เมื่อปี พ.ศ.2499 และ พ.ศ.2508

ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 150 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงลำต้นสีเขียว กอแผ่กระจาย แตกกอดี เมล็ดข้าวมีรูปร่างเรียวยาวข้าวเปลือกสีเหลืองจางอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 20 ธันวาคมระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 8 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.3 x 7.5 x 1.8 มิลลิเมตร

 

ชื่อพันธุ์ ขาวปากหม้อ 148 (Khao Pahk Maw 148)

ชนิดข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์ได้จากการรวบรวมพันธุ์โดยนายทอง ฝอยหิรัญ พนักงานเกษตร จากอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี เมื่อปี พ.ศ.2495-2496 จำนวน 196 รวง แล้วนำมาคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ตามสถานีทดลองข้าวต่างๆ จนได้สายพันธุ์ขาวปากหม้อ 55-3-148

การรับรองพันธุ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2508

ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 140 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงลำต้นสีเขียว แตกกอดี ทรงกอตั้งตรง ใบกว้างและยาว เมล็ดมีรูปร่างเรียวยาวข้าวเปลือกสีฟางอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 3 ธันวาคมระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 6 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.3 x 7.6 x 1.9 มิลลิเมตร

 

ชื่อพันธุ์ข้าวเจ้าหอมพิษณุโลก 1 (Khao' Jow Hawm Phitsanulok 1)

ชนิดข้าวเจ้า

คู่ผสมขาวดอกมะลิ 105 / LA29'73NF1U-14-3-1-1// IR58

ประวัติพันธุ์ได้จากการผสมพันธุ์ 3 ทาง ระหว่างพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และสายพันธุ์ LA29'73NF1U-14-3-1-1 กับIR58 ที่สถานีทดลองข้าวสุพรรณบุรี ในปี พ.ศ. 2525-2526พ.ศ. 2528-2533 นำไปปลูกคัดเลือกที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ตั้งแต่ชั่วที่ 2-7 จนได้สายพันธุ์ SPRLR83228-PSL-32-1

การรับรองพันธุ์คณะกรรมการบริหารกรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 30 กันยายน 25

ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 160 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 25 พฤศจิกายนลำต้นสูง ทรงกอตั้ง ฟางแข็งปานกลาง ใบสีเขียว ใบธงเอน คอรวงยาว รวงแน่นปานกลาง ระแง้ถี่เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 11 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.1 x 7.4 x 1.7 มิลลิเมตร

ชื่อพันธุ์เฉี้ยงพัทลุง (Chiang Phatthalung)

ชนิดข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์เป็นข้าวพันธุ์พื้นเมือง มีชื่อเดิมหลายชื่อได้แก่ ขาวกาหวิน เปอร์วิต ขาวมาเล บางแก้ว นายเฉี้ยง ทองเรือง เกษตรกรอำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง ได้นำข้าวพันธุ์นี้จากอำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง ไปปลูกที่ตำบลบ้านใหม่ อำเภอระโนด เป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2517 เพื่อแก้ปัญหาความแห้งแล้ง ฝนทิ้งช่วงปลายฤดู และเป็นที่นิยมปลูกแพร่หลายในเวลาต่อมา ในปี พ.ศ. 2530 สถานีทดลองข้าวปัตตานีได้เก็บรวบรวมข้าวพันธุ์ดังกล่าวจากแปลงนาเกษตรกรในอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา และทำการคัดเลือกแบบหมู่จนได้สายพันธุ์เฉี้ยงพัทลุง

การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์แนะนำ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2537

ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 150 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยว ประมาณกลางเดือนมกราคมใบสีเขียว ใบธงแผ่เป็นแนวนอน คอรวงยาว รวงยาวปานกลาง ระแง้ค่อนข้างถี่เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 1 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.1 x 6.7 x 1.6 มิลลิเมตรมีท้องไข่ปานกลาง

 

ชื่อพันธุ์ชุมแพ 60 (Chum Phae 60)

ชนิดข้าวเจ้า

คู่ผสมกำผาย 41/ เหลืองทอง 78

ประวัติพันธุ์ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่าง พันธุ์กำผาย 41 และพันธุ์เหลืองทอง 78 ที่สถานีทดลองข้าวสันป่าตอง ในปี 2504 ปลูกศึกษาพันธุ์ เปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานีและระหว่าง สถานีในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จนได้สายพันธุ์ SPT6118-34

การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2530

ลักษณะประจำพันธุ์เป็นพันธุ์ข้าวเจ้า สูงประมาณ 160-180 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 27 พฤศจิกายนลำต้นและใบสีเขียว กอตั้งตรง แตกกอดี ต้นแข็งไม่ล้มง่าย ใบแคบยาว ใบธงตก รวงและคอรวงยาว เมล็ดเรียวยาวร่วงยาก มีท้องไข่ปานกลางข้าวเปลือกสีฟาง สาแหรกสีน้ำตาล และมีขนสั้นระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 9 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.3 x 7.6 x 1.8 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 27.35 %คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง

 

ชื่อพันธุ์นางพญา 132 (Nahng Pa-yah 132

ชนิดข้าวเจ้า

 

ประวัติพันธุ์ได้จากการรวบรวมข้าวพันธุ์พื้นเมือง จากอำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อปี พ.ศ. 2493 แล้วนำไปปลูกคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ตามสถานีทดลองข้าวต่างๆ จนได้สายพันธุ์ นางพญา 37-30-132

การรับรองพันธุ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2505

ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 175 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงลำต้นและใบสีเขียว แตกกอดี คอรวงยาว เมล็ดข้าวมีรูปร่างเรียวยาวข้าวเปลือกสีฟางอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 16 กุมภาพันธ์ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 3 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.2 x 7.6 x 1.7 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 28-32%คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง

 

ชื่อพันธุ์นางมล เอส-4 (Nahng Mon S-4)

ชนิดข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์ได้มาจากการรวบรวมพันธุ์ข้าวพื้นเมือง จากตำบลรังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี เมื่อ พ.ศ. 2493 นำมาปลูกคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ในสถานีทดลองข้าวต่างๆ จนได้สายพันธุ์ที่ดีที่สุด

การรับรองพันธุ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ให้ใช้ขยายพันธ์เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อ พ.ศ. 2499,2504,2508

ลักษณะประจำพันธุ์ เป็นข้าวเจ้า ต้นสูงประมาณ 140 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงลำต้นสีเขียว ใบกว้าง รวงใหญ่และยาว เมล็ดรูปร่างยาวเรียวข้าวเปลือกสีฟางอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 26 พฤศจิกายนระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 5 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.4 x 7.7 x 1.8 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 19 %คุณภาพข้าวสุก นุ่ม มีกลิ่นหอม

 

ชื่อพันธุ์น้ำสะกุย 19 (Nam Sa-gui 19)

ชนิดข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์ได้จากการรวบรวมพันธุ์โดยนายสมพงษ์ บุญเย็น พนักงานเกษตร เมื่อปี พ.ศ.2507 จำนวน 300 รวง จากอำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ แล้วนำไปคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ ตามสถานีทดลองข้าวต่างๆ จนได้สายพันธุ์ น้ำสะกุย 445-4-19

การรับรองพันธุ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ เมื่อ ปี พ.ศ. 2511

ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 143 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงข้อต่อระหว่างกาบใบและตัวใบสีม่วง แตกกอดี ทรงกอแผ่เล็กน้อย เมล็ดข้าวยาวเรียวข้าวเปลือกสีฟางก้นจุดอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 4 พฤศจิกายนระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 3 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.2 x 7.7 x 1.8 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 30-31 %คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง

 

ชื่อพันธุ์เผือกน้ำ 43 (Peuak Nam 43)

ชนิดข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์ได้จากการรวบรวมข้าวพันธุ์พื้นเมือง จากอำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี แล้วนำไปปลูกคัดเลือก แบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ จนได้สายพันธุ์เผือกน้ำ 184-5-43

การรับรองพันธุ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2511

ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 166 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงลำต้นและใบสีเขียว แตกกอมาก รวงใหญ่ คอรวงยาว เมล็ดข้าวเรียวยาวข้าวเปลือกสีฟางท้องไข่ปานกลางอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 22 กุมภาพันธ์ระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 4 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.1 x 7.1 x 1.7 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 24-27%

 

ชื่อพันธุ์ปทุมธานี 60 (Pathum Thani 60

ชนิดข้าวเจ้า

คู่ผสมดอกมะลิ 70*2 / ไชนีส 345

ประวัติพันธุ์ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ดอกมะลิ 70 กับสายพันธุ์ไชนีส 345 เมื่อ ปี พ.ศ.2501 ที่สถานีทดลองข้าวสันป่าตอง และนำไปปลูกคัดเลือกในสถานีทดลองข้าวภาคกลาง จนได้สายพันธุ์ SPT5837-400

การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรองเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2530

ลักษณะประจำพันธุ์

เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 159 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 25 พฤศจิกายนลำต้นและใบสีเขียว มีขนบนใบ รวงแน่น ระแง้ถี่ คอรวงยาว เมล็ดเรียวยาวท้องไข่น้อยเมล็ดข้าวเปลือกสีฟางระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 5 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.3 x 7.5 x 1.8 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 27-32 %คุณภาพข้าวสุก ค่อนข้างร่วน มีกลิ่นหอม

 

ชื่อพันธุ์พวงไร่ 2 (Puang Rai 2 )

ชนิดข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์ได้จากการรวบรวมพันธุ์พื้นเมือง โดยนายประวิทย์ สายทอง และ นายชัยทัศน์ นิจจสาร พนักงานเกษตร จากอำเภอเมือง จังหวัดเพชราบุรี จำนวน 85 รวง นำไปคัดเลือกแบบคันพันธุ์บริสุทธิ์ ตามสถานีทดลองข้าวต่างๆ จนได้สายพันธุ์ พวงไร่ 20-55-2

 

การรับรองพันธ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อ 13 มิถุนายน 2511

ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 170 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงลำต้นและใบสีเขียว ต้นสูง กอแผ่เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 6 กุมภาพันธ์ท้องไข่น้อยระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 4 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้างx ยาว x หนา = 2.3 x 7.5 x 1.9 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 28-30 %

 

ชื่อพันธุ์พัทลุง 60 (Phatthalung 60

ชนิดข้าวเจ้า

ชื่อคู่ผสมกข13 / กข7

ประวัติพันธุ์ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ กข13 และพันธุ์ กข7 ที่สถานีทดลองข้าวควนกุฎ (ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง) ในปี พ.ศ. 2520 ปลูกคัดเลือกจนถึงชั่วที่ 5 ที่สถานีทดลองข้าว นครศรีธรรมราช จนได้สายพันธุ์ KGTLR77003-3-NSR-1-1

การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2530

ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 156 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 6 -13 มกราคมต้นค่อนข้างแข็ง ล้มยาก มีรวงแน่น ระแง้ถี่ เมล็ดมาก รวงยาวและใหญ่ คอรวงยาว เมล็ดค่อนข้างป้อม ท้องไข่ปานกลางข้าวเปลือกสีฟาง อาจมีกระน้ำตาล

 

ชื่อพันธุ์พิษณุโลก 3 (Phitsanulok 3)

ชนิดข้าวเจ้า

คู่ผสมกข27 / LA29’73-NF1U-14-13-1-1

ประวัติพันธุ์ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ กข27 และสายพันธุ์ LA29’73-NF1U-14-13-1-1 ในปี พ.ศ. 2525 ที่สถานีทดลองข้าวสุพรรณบุรี ปลูกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ SPRLR82129-PSL-148-3-2

การรับรองพันธุ์คณะกรรมการบริหารกรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2545

ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 167 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 1-10 ธันวาคมกอตั้ง ใบสีเขียว รวงแน่น ระแง้ถี่ คอรวงยาว ต้นแข็งเมล็ดข้าวเปลือกสีฟางระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 9 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.1 x 7.4 x 1.7 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 23.6 %คุณภาพข้าวสุก ร่วน นุ่ม

 

ชื่อพันธุ์พิษณุโลก 60-1 (Phitsanulok 60-1)

ชนิดข้าวเจ้า

คู่ผสมขาวดอกมะลิ 105 / นางมล เอส-4 / / ไออาร์26

 

ประวัติพันธุ์ได้จากการผสม 3 ทาง ระหว่างพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์นางมล เอส -4 กับพันธุ์ไออาร์26 ที่สถานีทดลองข้าวสุพรรณบุรี ในปี พ.ศ. 2516-2517 ปลูกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ SPR7419-179-4-1

การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2530

ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 140-160 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 30 พฤศจิกายน -15 ธันวาคมลำต้นแข็งสีเขียวอ่อน ใบสีเขียวแคบ ยาวปานกลาง ใบธงสั้น รวงยาว ระแง้ถี่ เมล็ดยาวเรียวข้าวเปลือกสีฟาง ท้องไข่น้อยระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 7-8 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว xหนา = 2.2 x 7.3 x 1.7 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 17 %

 

ชื่อพันธุ์ลูกแดงปัตตานี ( Look Daeng Pattani

ชนิดข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์ได้จากการเก็บรวบรวมข้าวพันธุ์พื้นเมือง จากบริเวณชายฝั่งซึ่งน้ำทะเลท่วมถึง และพื้นที่ที่มีสภาพเป็นดินเปรี้ยวจากตำบลกำช่า ตำบลบางเขา และตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เมื่อปี พ.ศ. 2528 นำไปปลูกทดสอบในเรือนทดลอง พร้อมทั้งปลูกศึกษาและ คัดเลือกพันธุ์ที่สถานีทดลองข้าวปัตตานี

การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์ แนะนำ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2537

ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 160 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ มกราคม - กุมภาพันธ์ต้นค่อนข้างแข็ง ใบสีเขียวอ่อน และตั้งตรง ใบธงแผ่เป็นแนวนอน รวงยาว ระแง้ถี่เมล็ดข้าวเปลือกสีน้ำตาลแดงเข้มระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 4 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.5 x 7.5 x 1.8 มิลลิเมตรท้องไข่ค่อนข้างมากปริมาณอมิโลส 25 %

 

ชื่อพันธุ์เล็บนกปัตตานี ( Leb Nok Pattani )

ชนิดข้าวเจ้า

 

ประวัติพันธุ์ได้จากการเก็บรวบรวมข้าวพันธุ์พื้นเมือง ที่นิยมปลูกทางภาคใต้ โดยนักวิชาการ จากสถานีทดลองข้าวปัตตานี เมื่อปี พ.ศ. 2527 จำนวน 307 พันธุ์ จาก 107 อำเภอ 14 จังหวัด ปลูกคัดเลือกพันธุ์แบบหมู่และคัดเลือกพันธุ์บริสุทธิ์ จนได้สายพันธุ์เล็บนก (PTNC84210)

การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์แนะนำ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2537

ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 170 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยว ประมาณกุมภาพันธ์ใบธงแผ่เป็นแนวนอน คอรวงยาว รวงยาวแน่น ระแง้ถี่เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ก้นจุดระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 3 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.1 x 6.0 x 1.7 มิลลิเมตรท้องไข่ปานกลางปริมาณอมิโลส 26 %คุณภาพข้าวสุก ร่วน นุ่ม

 

ชื่อพันธุ์หางยี 71 ( Hahng Yi 71 )

ชนิดข้าวเหนียว

ประวัติพันธุ์ได้จากการรวบรวมพันธุ์ โดยพนักงานข้าว จากอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เมื่อปี พ.ศ. 2506 ปลูกคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ตามสถานีทดลองข้าวต่างๆ จนได้สายพันธุ์ หางยี 563-2-71

การรับรองพันธุ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ เมื่อ พ.ศ. 2511

ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเหนียว สูงประมาณ 152 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสง ปลูกได้เฉพาะฤดูนาปีลำต้นสีเขียว ใบแคบ และยาว สีเขียวเข้ม รวงอ่อนมีระแง้แผ่ออกคล้ายตีนนกเมล็ดข้าวยาวเรียวข้าวเปลือกสีน้ำตาลอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 4 พฤศจิกายนระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 1 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.1 x 7.1 x 1.8 มิลลิเมตรคุณภาพข้าวสุก เหนียวนุ่ม

 

ชื่อพันธุ์เหมยนอง 62 เอ็ม ( Muey Nawng 62 M )

ชนิดข้าวเหนียว

ประวัติพันธุ์ได้จากการรวบรวมพันธุ์โดยเจ้าหน้าที่ของสถานีกสิกรรมแม่โจ้ เมื่อปี พ.ศ. 2494 และนายมณี เชื้อวิโรจน์ เจ้าหน้าที่วิชาการ สถานีทดลองข้าวสันป่าตอง นำมาปลูกคัดเลือกและเปรียบเทียบพันธุ์ในสถานีทดลองข้าวต่างๆ ในภาคเหนือ จนได้พันธุ์เหมยนอง 62 เอ็ม

การรับรองพันธุ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ให้ใช้ขยายพันธุ์ เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2502

ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเหนียว สูงประมาณ 150 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงลำต้นและขอบใบสีม่วง แต่เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเขียว กอค่อนข้างแผ่ เมล็ดสั้นป้อมข้าวเปลือกสีฟางกระน้ำตาล ก้นจุดอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 20 พฤศจิกายนระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 1 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.9 x 6.6 x 2.0 มิลลิเมตร

 

ชื่อพันธุ์เหนียวสันป่าตอง (Niaw San-pah-tawng )

ชนิดข้าวเหนียว

ประวัติพันธุ์ได้จากการคัดเลือกข้าวเจ้าสายพันธุ์เหลืองใหญ่ 10-137-1 ซึ่งกลายพันธุ์เป็นข้าวเหนียว โดยนายมณี เชื้อวิโรจน์ เจ้าหน้าที่วิชาการ สถานีทดลองข้าวสันป่าตอง นำไปปลูกคัดพันธุ์ใหม่ จนได้พันธุ์เหนียวสันป่าตอง 137-1-16

การรับรองพันธุ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อ วันที่ 6 พฤษภาคม 2505

ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเหนียว สูงประมาณ 150 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงทรงกอแฝเล็กน้อย ต้นค่อนข้างแข็ง รวงยาว เมล็ดยาวเรียวเมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.1 x 7.2 x 1.3 มิลลิเมตรข้าวเปลือกสีน้ำตาลอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 26 พฤศจิกายนระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 6 สัปดาห์คุณภาพข้าวสุก เหนียวนุ่ม

 

ชื่อพันธุ์เหนียวอุบล 1 ( Niaw Ubon 1 )

ชนิดข้าวเหนียว

คู่ผสมเหนียวสันป่าตอง* 2 / ไออาร์262

ประวัติพันธุ์ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์เหนียวสันป่าตอง และพันธุ์ ไออาร์262 ในปีพ.ศ.2509 แล้วผสมกลับไปหาพันธุ์เหนียว สันป่าตองอีกครั้งหนึ่ง ในปี พ.ศ.2510 ที่สถานีทดลองข้าวบางเขน ทำการคัดเลือกต่อที่สถานีทดลองข้าวอุบลราชธานี จนได้สายพันธุ์ UBN6721-11-1- 6(3)

การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2526

ลักษณะประจำพันธุ์

เป็นข้าวเหนียว สูงประมาณ 145 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยว ประมาณกลางเดือนพฤศจิกายนทรงกอตั้งตรง แตกกอดี ต้นและใบสีเขียวเข้ม ใบธงตั้ง เมล็ดยาวเรียวข้าวเปลือกสีฟางระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 7 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง ยาว 7.52 มิลลิเมตร กว้าง x ยาว x หนา = 2014 x 7.52 x1.78 มิลลิเมตรคุณภาพข้าวสุก เหนียวนุ่ม

 

ชื่อพันธุ์เหนียวอุบล 2 ( Niaw Ubon 2 )

ชนิดข้าวเหนียว

คู่ผสม SPT7149-429-3 / IR21848-65-3-2

ประวัติพันธุ์ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างสายพันธุ์ SPT7149-429-3 และIR21848-65-3-2 ที่สถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2525 ปลูกคัดเลือกที่ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานีจนได้ สายพันธุ์ IR43070-UBN-501-2-1-1-1

การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อ วันที่ 18 มีนาคม 2541

ลักษณะประจำพันธุ์เป็นพันธุ์ข้าวเหนียว สูงประมาณ 118 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 15 พฤศจิกายนทรงกอแผ่ ต้นแข็ง ใบสีเขียวเข้ม กาบใบสี เขียว ใบธงตั้งตรง รวงแน่นปานกลาง คอรวงสั้นเมล็ดข้าวเปลือกสีน้ำตาลระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 3 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.2 x 7.2 x 1.8 มิลลิเมตร

 

ชื่อพันธุ์เหลืองประทิว 123 ( Leuang Pratew 123 )

ชนิดข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์ได้จากการรวบรวมพันธุ์โดยพนังงานเกษตร จากเกษตรกรในอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2498-2499 ปลูกคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ตามสถานีทดลองข้าวต่างๆ จนได้สายพันธุ์ เหลืองประทิว 126-8-123

การรับรองพันธุ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ เมื่อปี พ.ศ.2508

ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 150 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงลำต้นและใบสีเขียว ใบกว้างและยาว คอรวงยาวข้าวเปลือกสีเหลือง เมล็ดยาวเรียวอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 19 ธันวาคมระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 6 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.3 x 7.6 x 1.8 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 29-32 %คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง

 

ชื่อพันธุ์เหลืองใหญ่ 148 ( Leuang Yai 148

ชนิดข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์ได้จากการรวบรวมพันธุ์เหลืองใหญ่จากเกษตรกรในอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ่โดยนายพรม ยานะ พนักงานเกษตรอำเภอ เมื่อปี พ.ศ.2499-2501 คัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ ที่สถานีทดลองข้าวสันป่าตอง จนได้สายพันธุ์ เหลืองใหญ่ 228-2-148

การรับรองพันธุ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2511

ลักษณะประจำพันธุ์เป็นพันธุ์ข้าวเจ้า สูงประมาณ 160 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงลำต้นและใบสีเขียว ลำต้นเล็ก ใบธงค่อนข้างตั้งเมล็ดข้าวเปลือกสีเหลืองอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 25 พฤศจิกายนระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 6 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.6 x 7.8 x 1.8 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 30-31คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง

 

ชื่อพันธุ์เข็มทองพัทลุง (Khem Tawng Phatthalung

ชนิด ข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์ได้จากการรวบรวมพันธุ์ข้าวพื้นเมือง จากตำบลท่ามิหรำ อำเมือง จังหวัดพัทลุง แล้วนำไปปลูกคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ จนได้สายพันธุ์เข็มทอง PTLC97001-4-2

การรับรองพันธุ์คณะกรรมการบริหารกรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2547

ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 173 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 14 กุมภาพันธ์ต้นสูง ทรงกอตั้ง ฟางแข็ง ไม่ล้ม รวงแน่นปานกลาง ระแง้ถี่ระยะพักตัวประมาณ 2 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.19 x 9.94 x 1.57 เซนติเมตรปริมาณอมิโลส 24.1%เมล็ดข้าวสาร สีขาวใสประมาณ 548 กิโลกรัมต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล และโรคขอบใบแห้งปานกลางต่อไร่ไม่ต้านทานโรคไหม้ และโรคใบสีส้ม

 

ชื่อพันธุ์ข้าวหลวงสันป่าตอง (Khao' Luang San-pah-tawng

ชนิดข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์ ได้จากการรวบรวมพันธุ์พื้นเมืองของเกษตรกรบ้านปางม่วง ต. แจ้ซ้อน อ. เมืองปาน จ. ลำปาง ปลูกศึกษาพันธุ์และเปรียบเทียบผลผลิตที่สถานีทดลองข้างสันป่าตอง และทดสอบพันธุ์ในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่รอยต่อ อ. เมือง อ.เมืองปาน และ อ. แจ้ห่ม จ. ลำปาง ในปี 2541 – 2546

การรับรองพันธุ์คณะกรรมการบริหาร กรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2547

ลักษณะประจำพันธุ์ข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 15-17 พฤศจิกายนกอตั้ง แตกกอมาก ลำต้นตรง แข็ง ไม่ล้มง่าย รวงยาว ระแง้ถี่ คอรวงยาวเมล็ดสีฟางกระน้ำตาลเมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.93 x 7.11 x 2.07 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 14.26 %คุณภาพข้าวสุก นุ่ม เหนียว

 

ชื่อพันธุ์แก่นจันทร์ (Gaen Jan)

ชนิดข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์ได้จากการเก็บรวบรวมพันธุ์ข้าวพื้นเมืองจากเกษตรกรในอำเภอกระบุรี จังหวัดระนองเมื่อปี พ.ศ.2509 ทำการปลูกคัดเลือกพันธุ์แบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ จนได้สายพันธุ์ แก่นจันทร์707-2-23

การรับรองพันธุ์ คณะกรรมการวิจัยและพัฒนา กรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2526

ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 165 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยวประมาณปลายเดือนมกราคมถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ลักษณะทรงกอแบะ ต้นแข็ง ใบสีเขียว ใบธงเอน รวงยาวมาก ระแง้ถี่เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางระยะพักตัว ประมาณ 5-6 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.16 x 7.06 x 1.58 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 30-31%




พันธุ์ข้าว

พันธุ์ข้าว ไม่ไวต่อแสง



Copyright © 2012 All Rights Reserved.
กากชาตรากระทิง คุณภาพดี ราคาถูก จัดส่งทั่วประเทศ บริษัท ทวีผลเกษตรธรรมชาติ จำกัด 770/60 หมู่6 แขวงจอมทอง เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150 โทรศัพท์ : 034-824563-4 แฟกซ์ : 034-823168 สายตรงแผนกขาย : 081-9354335, 081-62284995 E-mail : twpagri@hotmail.com www.ktkrating.com