ReadyPlanet.com
dot
dot
สินค้าของเรา
dot
bulletกากชากำจัดหอยเชอรี่
bulletกากชากำจัดปลาในบ่อกุ้ง
bulletสารกำจัดแมลงในสนามกอล์ฟ
bulletกากชาบรรจุกระสอบละ 50 Kg.
bulletโรงงานกากชาตรากระทิง
bulletเสียงจากเกษตรกร
dot
เกี่ยวกับหอยเชอรี่
dot
bulletหอยเชอรี่
dot
กากชาตรากระทิง
dot
bulletคุณสมบัติของกากชา
bulletวิธีการใช้กากชา
bulletแหล่งผลิตกากชา
dot
ปุ๋ย ยาสำหรับนาข้าว
dot
bulletปุ๋ยนาข้าว
bulletยากำจัดแมลง
bulletยากำจัดวัชพืช
bulletยากำจัดโรคพืช
dot
โรค แมลง ศัตรูพืชในนาข้าว
dot
bulletแมลงศัตรูพืชในนาข้าว
bulletวัชพืชในนาข้าว
bulletโรคต่างๆในข้าว
dot
การปลูกข้าว
dot
bulletการปลูกข้าวหอมมะลิ
bulletการทำนาดำ
bulletการทำนาหว่าน
bulletการทำนาหยอด
bulletการโยนกล้า
dot
พันธุ์ข้าว
dot
bulletพันธุ์ข้าว ไวต่อแสง
bulletพันธุ์ข้าว ไม่ไวต่อแสง
dot
เกี่ยวกับข้าว
dot
bulletการขาดธาตุอาหารของข้าว
bulletการเก็บรักษาข้าวเปลือก
bulletการเก็บเกี่ยว
bulletการตากข้าว
bulletศัตรูพืชในโรงเก็บข้าวเปลือก




ยากำจัดแมลง

การใช้สารเคมีกำจัดแมลงศัตรูข้าว

แมลงวันเจาะยอดกล้าข้าว

ความสำคัญ: โดยทั่วไปเป็นแมลงศัตรูชนิดรอง - มีความสำคัญเฉพาะในข้าวไร่ หรือข้าวนาดอน

ระยะการเจริญเติบโตของต้นข้าวที่ถูกทำลาย: ต้นกล้า ถึง แตกกอ (1-2)

อาการของต้นข้าวที่ถูกทำลาย: ยอดแห้ง ต้นกล้าตาย

ระดับที่ต้องจัดการศัตรูพืช: พบมีปัญหาน้อยในนาดำ

ชีพจักร:  ไม่มี

กลไกการทำลาย:   ไม่มี

คำแนะนำในการป้องกันกำจัด:   ไม่มี

        -       ไม่จำเป็นต้องทำการป้องกันกำจัด

        -       ไขน้ำท่วมแปลง


 

จิ้งหรีด วิธีป้องกันกำจัดได้ดีที่สุดคือการไขน้ำท่วมแปลง                          

ความสำคัญ: มีปัญหาน้อยมาก จะพบได้เพียงในพื้นที่นาที่แห้งแล้ง

ลักษณะของแมลง: จิ้งหรีดที่ขยายขาหน้าใหญ่

ระยะการเจริญเติบโตของต้นข้าวที่ถูกทำลาย: ต้นกล้า ถึง แตกกอ (1-2)

อาการของต้นข้าวที่ถูกทำลาย: ต้นกล้าตาย ต้นข้าวในนาหายไปเป็นหย่อม ๆ

ระดับที่ต้องจัดการศัตรูพืช: พบว่ามีปัญหาน้อยมากในนาดำ

ชีพจักร: ประมาณ 6 เดือน

กลไกการทำลาย: กัดกินเมล็ดข้าวและรากอ่อน

คำแนะนำในการป้องกันกำจัด:  

-         ไม่ต้องป้องกันกำจัด

-         ไขน้ำท่วมแปลง

-         ใช้เหยื่อพิษ (รำข้าว + สารเคมีกำจัดแมลงศัตรู)

        สารเคมีกำจัดแมลงคาร์โบฟูราน 3G ในอัตรา 1 กก. ของสารออกฤทธิ์ต่อพื้นที่ 1 เฮกตาร์ (6.25 ไร่) หรือในชื่อการค้าว่า ฟูราดาน ในอัตรา 33.3 กก.ต่อพื้นที่ 1 เฮกตาร์ (6.25 ไร่)

คำแนะนำ: ตรวจดูรากข้าวนี้ถูกทำลายให้แน่ใจว่าเกิดจากจิ้งหรีดทำลาย


 

แมลงวันเจาะยอดกล้าข้าว - ระบายน้ำออกจากนาเพื่อลดความรุนแรงของปัญหา

ความสำคัญ: เป็นปัญหาทางเศรษฐกิจน้อย แต่แพร่ระบาดได้กว้างขวาง จะพบว่าระบาดมากในฤดูฝน

ลักษณะของแมลง: ตัวหนอนโปร่งแสงบนต้นข้าวในระยะเริ่มแตกกอ

ระยะการเจริญเติบโตของต้นกล้าข้าวที่ถูกทำลาย: ระยะต้นกล้า ถึง แตกกอ (1-2)

ลักษณะของต้นข้าวที่ถูกทำลาย: ต้นข้าวรูปร่างผิดปกติ ใบอ่อนขอบสีขาว/เหลือง

ระดับที่ต้องจัดการศัตรูพืช: ยังไม่ได้พิจารณาถึงปัญหาในระดับต่าง ๆ ของการทำลาย

ชีพจักร: ประมาณ 4 สัปดาห์

กลไกการทำลาย: บริเวณจุดเจริญ เช่น ยอดอ่อน หรือ (growing points) และขอบใบที่กำลังโผล่ออกมา

คำแนะนำในการกำจัด

-         ไม่จำเป็นต้องทำการป้องกันกำจัด

-         ระบายน้ำออกจากนา/ปล่อยนาให้แห้ง

        ใช้สารเคมีกำจัดแมลงศัตรู ไตรอะโซฟอส  ชนิดที่มันละลายน้ำ อัตรา 0.4 กิโลกรัม  สารออกฤทธิ์ต่อพื้นที่ 1 เฮกตาร์ (6.25 ไร่) ชื่อการค้า ฮอสตาไทออน ในอัตรา 1.0 ลิตร ต่อพื้นที่ 1 เฮกตาร์ (6.25 ไร่)

        ใช้สารเคมีกำจัดแมลงศัตรู

          คาร์โบฟูราน 3G ชนิดเม็ด อัตรา 1 กิโลกรัม สารออกฤทธิ์ต่อพื้นที่ 1 เฮกตาร์ ชื่อการค้า ฟูราดาน ในอัตรา 33.3 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 1 เฮกตาร์ (6.25 ไร่)

คำแนะนำ: การแก้ปัญหาแมลงวันเจาะยอดกล้าข้าวได้ผลดีที่สุดด้วยการป้องกันดีกว่าแก้ไข  หากเกิดปัญหาพบว่ามีการทำลายเกิดขึ้น ก็ไม่สามารถ พบตัวแมลงสาเหตุแล้ว

 



เพลี้ยไฟ - แก้ปัญหาได้ด้วยการไขน้ำท่วมแปลง

ความสำคัญ: พบปัญหานี้น้อย มักพบระบาดในช่วงฤดูแล้ง

ลักษณะของแมลง: แมลงลำตัวอ่อนนุ่มขนาดเล็ก

ระยะการเจริญเติบโตของต้นข้าวที่มีถูกทำลาย: ต้นกล้า ถึง แตกกอ (1-2) และระยะดอกบาน (6)

อาการของต้นข้าวที่ถูกทำลาย: ใบม้วนงอ แห้ง และเปลี่ยนเป็นสีเหลืองถึงแดง เพลี้ยไฟยังทำลายช่อดอกได้อีกด้วย ทำให้ข้าวไม่ติดเมล็ด รวงลีบ

ระดับที่ต้องจัดการศัตรูพืช: เมื่อใบถูกทำลายมากกว่า 25% หรือ 10 ใบต่อกอ

ชีพจักร: 22-40 วัน

กลไกการทำลาย: เนื้อเยื่อใบถูกเขี่ยให้ช้ำ แล้วเพลี้ยไฟดูดกินน้ำเลี้ยง

คำแนะนำในการกำจัด

-         ไม่จำเป็นต้องทำการป้องกันกำจัด

-         ไขน้ำท่วมแปลง

         ใช้สารเคมีกำจัดแมลงศัตรู ไดเมโธเอท อัตรา 0.4 กิโลกรัม สารออกฤทธิ์ต่อพื้นที่ 1 เฮกตาร์ (6.25 ไร่) ชื่อการค้า รอกไซออน อัตรา 0.93 ลิตร ต่อพื้นที่ 1 เฮกตาร์ (6.25 ไร่)

         สารเคมีกำจัดแมลงศัตรู บีพีเอ็มซี ชนิดน้ำมันละลายน้ำในอัตราสารออกฤทธิ์ 0.4 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 1 เฮกตาร์ (6.25 ไร่) ชื่อการค้า เบย์คาร์ฟ หรือ ฮอพซิน อัตรา 0.8 ลิตร ต่อพื้นที่ 1 เฮกตาร์ (6.25 ไร่)

ใช้สารเคมีกำจัดแมลงศัตรูผสม ได้แก่ บีเอ็มพีซี ผสมกับอัลฟาไซเปอร์มีทริน ในชื่อการค้า ฟาสแทค-อาร์ อัตรา 0.8 ลิตร ต่อพื้นที่ 1 เฮกตาร์ (6.25 ไร่)

คำแนะนำ: พบบ่อยที่เพลี้ยไฟทำลายช่อดอก ทำให้รวงลีบ ไม่ติดเมล็ด


 

แมลงทำลายใบ

การจัดการศัตรูพืช - ไม่แนะนำให้ฉีดพ่นสารเคมีกำจัดแมลงที่ทำลายใบในช่วง 30 วันแรกของการปักดำ และ 40 วันแรกหลังการหว่าน

(รวมทั้งหนอนม้วนใบ หนอนกระทู้ หนอนคืบ และอื่น ๆ)

ความสำคัญ : มีปัญหาน้อยพบได้ทั่วไป

ชนิดของแมลง : มวน และหนอนผีเสื้อ

ระยะการเจริญเติบโตของต้นข้าวที่ถูกทำลาย: ระยะต้นกล้า ถึงระยะย่างปล้อง (1-3)

คำแนะนำในการกำจัด:

          ไม่จำเป็นต้องทำการป้องกันกำจัด - ห้ามฉีดพ่นสารเคมีกำจัดแมลงหลังย้ายปักดำ 30 วัน หรือ 40 วันหลังหว่าน

          สารเคมีจำกัดแมลงศัตรู ไตรอโซฟอส ชนิดน้ำมันละลายน้ำในอัตรา 0.4 กิโลกรัม สารออกฤทธิ์ต่อพื้นที่ 1 เฮกตาร์ (6.25 ไร่) มีชื่อการค้า ฮอสตาไซออน ใช้อัตรา 1.0 ลิตร ต่อพื้นที่ 1 เฮกตาร์ (6.25 ไร่)

          สารเคมีกำจัดแมลงศัตรูชนิดผสม ชื่อ คลอร์ไพรีฟอส กับ บีพีเอ็มซี   สารออกฤทธิ์ 0.4 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 1 เฮกตาร์ (6.25 ไร่) หรือมีชื่อการค้า โบรดาน ใช้ในอัตรา 1.27 ลิตร ต่อพื้นที่ 1 เฮกตาร์ (6.25 ไร่)

           สารเคมีกำจัดแมลง ชื่อ คาร์แทพ - เอชซีแอล อัตราใช้ 0.25 กิโลกรัม สารออกฤทธิ์ต่อพื้นที่ 1 เฮกตาร์ หรือ มีชื่อการค้า ไดโมทริน ใช้อัตรา 0.5 ลิตร ต่อพื้นที่ 1 เฮกตาร์ (6.25 ไร่)

            สารเคมีกำจัดแมลง ชื่อ ไฟโปรนิล ใช้ในอัตราสารออกฤทธิ์ 50-150 กรัม ต่อพื้นที่ 1 เฮกตาร์ หรือมีชื่อการค้าว่า รีเจนท์ หรือแอสเซนต์ ใช้ในอัตรา ? ลิตร ต่อพื้นที่ 1 เฮกตาร์ (6.25 ไร่)

            สารเคมีกำจัดแมลง คาร์บาริล ชนิดผงละลายน้ำ ในอัตราสารออกฤทธิ์ 0.75 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 1 เฮกตาร์ หรือชื่อการค้าว่า เซวิน ในอัตรา 0.88 ลิตร ต่อพื้นที่ 1 เฮกตาร์ (6.25 ไร่)

            สารเคมีกำจัดแมลง คาร์โบฟูราน 3G ชนิดเม็ด โรยในอัตราสารออกฤทธิ์ 1 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 1 เฮกตาร์ หรือชื่อการค้าว่า ฟูราดาน ในอัตรา 33.3 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 1 เฮกตาร์ (6.25 ไร่)

            สารเคมีกำจัดแมลงชนิดผสมระหว่าง บีพีเอ็มซี กับ อัลฟาไซเปอร์มีทริน ในชื่อทางการค้า ฟาสแทค-อาร์ ในอัตรา 0.8 ลิตร ต่อพื้นที่ 1 เฮกตาร์ (6.25 ไร่)

 


 

หนอนกอ

ความสำคัญ: หนอนกอเป็นแมลงศัตรูข้าวที่แพร่หลาย พบได้ทั่วไป ปริมาณของผลผลิตที่เสียหาย เนื่องจากหนอนกอทำลายยังไม่คงที่แน่นอน

ระยะการเจริญเติบโตของต้นพันธุ์ข้าวที่ถูกทำลาย: ต้นกล้าถึงเริ่มแทงช่อดอก (1-4)

อาการของต้นข้าวที่ถูกทำลาย: ยอดเหี่ยว ข้าวหัวหงอก รวงลีบ

ระดับที่ต้องการจัดการศัตรูพืช: ต้นข้าวถูกทำลายปริมาณ 10% ของกอ พบไข่ 4 กลุ่มต่อข้าว 1 กอ ในระยะ (booting stge)

ชีพจักร: 40-70 วัน (ขึ้นกับชนิดของหนอนกอ)

กลไกการทำลาย: หนอนกัดกินอยู่ในลำต้น ทำลายระบบท่อน้ำ ท่ออาหารของต้นข้าว

คำแนะนำในการป้องกันกำจัด: การป้องกันเป็นสิ่งที่ดีที่สุด การใช้สารเคมีกำจัดแมลงศัตรูมีดังนี้

          คาร์โบฟูราน 3G ชนิดเม็ด อัตราสารออกฤทธิ์ 1 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 เฮกตาร์ = ชื่อทางการค้า ฟูราดาน ใช้ในอัตรา 33.3 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 เฮกตาร์ (6.25 ไร่)

          คาร์แทพ - เอชซีแอล ใช้ในอัตราสารออกฤทธิ์ 0.25 กิโลกรัมต่อเนื้อที่ 1 เฮกตาร์ = ชื่อทางการค้า ไดโมทริน อัตรา 0.5 ลิตร ต่อพื้นที่ 1 เฮกตาร์ (6.25 ไร่)

          ไฟโปรนิล อัตราสารออกฤทธิ์ 50-150 กรัม ต่อพื้นที่ 1 เฮกตาร์ = ชื่อทางการค้า รีเจนท์ หรือแอสเซน ในอัตรา ? ลิตร ต่อพื้นที่ 1 เฮกตาร์ (6.25 ไร่)

          คลอร์ไพริฟอส อีซี  อัตราสารออกฤทธิ์ 0.4 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 1 เฮกตาร์ = ชื่อทางการค้า ลอรัสแมน อัตรา 1.33 ลิตร ต่อพื้นที่ 1 เฮกตาร์ (6.25 ไร่)

          ไดเมโธเอท ใช้ในอัตราสารออกฤทธิ์ 0.4 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 1 เฮกตาร์ = ชื่อทางการค้า รอคไซออน ใช้ในอัตรา 0.93 ลิตร ต่อพื้นที่ 1 เฮกตาร์ (6.25 ไร่)

          ไตรอะโซฟอส อีซี ใช้ในอัตราสารออกฤทธิ์ 0.4 กิโลกรัม ต่อเนื้อที่ 1 เฮกตาร์ (6.25 ไร่) = ชื่อทางการค้า ฮอสตาไซออน อัตรา 1.0 ลิตร ต่อที่ 1 เฮกตาร์ (6.25 ไร่)        


 

เพลี้ยจั๊กจั่นสีเขียว

ความสำคัญ: เป็นต้นเหตุให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคทุนโกร (โรคไวรัสนี้ทำให้ต้นข้าวแคระแกรน มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าโรคใบสีส้มของข้าว)

ระยะการเจริญเติบโตของต้นข้าวที่ถูกทำลาย: ต้นกล้าถึงเริ่มแทงช่อดอก (1-4)

อาการของต้นข้าวที่ถูกทำลาย: โรคทุนโกร (ไวรัสในพืช) ทำให้แคระแกรน ลดการแตกกอ ใบมีสีเหลืองอ่อนหรือเหลืองส้ม

ระดับที่ต้องจัดการศัตรูพืช: พบปริมาณ 5 ตัว ต่อข้าว 1 กอ

ชีพจักร: 23-30 วัน

กลไกการทำลาย: ไวรัสแพร่กระจาย หรือการเจาะดูดของเพลี้ยชนิดนี้โดยตรง

คำแนะนำในการป้องกันกำจัด:  

-       ไม่มีความจำเป็นในการป้องกันกำจัด (หากพบโรคทุนโกรแล้ว)

-       สารเคมีกำจัดแมลงศัตรู มีดังนี้

          บีพีเอ็มซี-อีซี  อัตราสารออกฤทธิ์ 0.4 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 1 เฮกตาร์ = สารที่มีชื่อการค้า เบย์คาร์พ หรือฮอพซิน อัตรา 0.8 ลิตร ต่อพื้นที่ 1 เฮกตาร์ (6.25 ไร่)

          บีพีเอ็มซี ผสมกับ อัลฟาไซเปอร์มีทริน ในชื่อการค้า ฟาสแทค-อาร์ ใช้ในอัตรา 0.8 ลิตร ต่อพื้นที่ 1 เฮกตาร์ (6.25 ไร่)

          คาร์แทพ-เอชซีแอล ใช้อัตราสารออกฤทธิ์ 0.25 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 1 เฮกตาร์ เทียบเท่ากับสารที่มีชื่อการค้า ไดโมทริน 0.5 ลิตร ต่อพื้นที่ 1 เฮกตาร์ (6.25 ไร่)

          ไอโซโปรคาร์พ ใช้อัตราสารออกฤทธิ์ 0.5-0.75 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 1 เฮกตาร์ เทียบเท่ากับสารที่มีชื่อการค้า เอ็มไอพีซี ในอัตรา ? กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 1 เฮกตาร์ (6.25 ไร่)

          เอ็มทีเอ็มซี ผสมกับ ฟีโนเอท อัตราสารออกฤทธิ์ 0.9-1.2 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 1 เฮกตาร์ เทียบเท่าสารที่มีชื่อการค้า คาร์โบเฟน ในอัตรา ? กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 1 เฮกตาร์ (6.25 ไร่)

          คำแนะนำ: เพลี้ยจั๊กจั่นสีเขียว โดยปกติแล้วการทำลายไม่มีความเสียหายที่รุนแรง แต่หากเป็นพาหะนำเชื้อไวรัส โรคทุนโกรมาแพร่ระบาด จะต้องทำการป้องกันกำจัดทันที


 

 

เพลี้ยกระโดด (เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล -  เพลี้ยกระโดดหลังขาว)

ระยะการเจริญเติบโตของต้นข้าวที่ถูกทำลาย: ระยะต้นกล้า ถึงระยะเมล็ดน้ำนม (1-7)

อาการของต้นกล้าที่ถูกทำลาย: เกิดลักษณะ hopper burn - ลำต้นมีรอยกลมสีเหลือง ต่อมาจะแห้งเป็นรอยไหม้อย่างรวดเร็ว

ระดับที่ต้องจัดการศัตรูพืช: เมื่อพบ 15 ตัว ต่อกอ

ชีพจักร: 21-33 วัน

กลไกของการทำลาย: ดูดกินน้ำเลี้ยงจากระบบทางเดินอาหารและน้ำของพืช

คำแนะนำในการป้องกันกำจัด: ใช้สารเคมีในการกำจัด

สารเคมีกำจัดแมลงศัตรู มีดังนี้

          บูโพรฟีซิน ใช้อัตราสารออกฤทธิ์ 0.05 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 1 เฮกตาร์ เท่ากับสารที่มีชื่อการค้าว่า แอพเพล้าด์ อัตรา 200 กรัม ต่อพื้นที่ 1 เฮกตาร์ (6.25 ไร่)

          บีพีเอ็มซี - อีซี ใช้อัตราสารออกฤทธิ์ 0.4 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 1 เฮกตาร์ เท่ากับสารที่มีชื่อการค้าว่า เบย์คาร์พ หรือฮอพซิน ใช้ในอัตรา 0.8 ลิตร ต่อพื้นที่ 1 เฮกตาร์ (6.25 ไร่)

          สารผสมบีพีเอ็มซี กับ อัลฟาไซเปอร์มีทริน มีชื่อทางการค้าว่า ฟาสแทค-อาร์ ใช้ในอัตรา 0.8 ลิตร ต่อเนื้อที่ 1 เฮกตาร์ (6.25 ไร่)

          เดลต้ามีทริน ใช้ในอัตรา 0.015 กิโลกรัมของสารออกฤทธิ์ เทียบเท่ากับสารที่มีชื่อทางากรค้าว่า เดซิส ใช้ในอัตรา 1 ลิตร ต่อพื้นที่ 1 เฮกตาร์ (6.25 ไร่)

          คาร์แพท - เอชซีแอล ใช้ในอัตราสารออกฤทธิ์ 0.25 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 1 เฮกตาร์ เทียบเท่ากับสารที่มีชื่อการค้า ไดโมทริน ใช้อัตรา 0.5 ลิตร ต่อพื้นที่ 1 เฮกตาร์ (6.25 ไร่)

          ไฟโปรนิล ใช้ในอัตรา 50-150 กรัมของสารออกฤทธิ์ ต่อพื้นที่ 1 เฮกตาร์ เทียบเท่ากับสารที่มีชื่อการค้าว่า รีเจนท์ หรือแอสเซนต์ อัตรา ?

          คาร์บาริล - ดับบลิวพี (ชนิดผงละลายน้ำ) ใช้อัตราสารออกฤทธิ์ 0.75 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 1 เฮกตาร์ เทียบเท่ากับ สารที่มีชื่อการค้าเซวิน อัตรา 0.88 ลิตร ต่อพื้นที่ 1 เฮกตาร์ (6.25 ไร่)

          ไฮโซโปรคาร์บ ใช้ในอัตราสารออกฤทธิ์ 0.5-0.75 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 1 เฮกตาร์ เทียบเท่ากับสารที่มีชื่อการค้าว่า เอ็มไอพีซี อัตรา ? กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 เฮกตาร์ (6.25 ไร่)

          คำแนะนำ: ต้องจำไว้ว่าแมลงศัตรูรองจะเป็นปัญหาขึ้นมา  เมื่อมีการฉีดพ่นหรือใช้สารเคมีกำจัดแมลงศัตรูพืชก่อนกำหนด โดยไม่จำเป็น


 

มวนข้าว

ความสำคัญ: พบได้ทั่วไป

ระยะการเจริญเติบโตของต้นข้าวที่ถูกทำลาย: ระยะเมล็ดน้ำนม (7)

อาการของต้นกล้าที่ถูกทำลาย: ข้าวเมล็ดลีบ ไม่มีสี

ระดับที่ต้องจัดการศัตรูพืช: มวนมากกว่า 1 ตัวต่อข้าว 1 กอ ในระยะออกดอก

กลไกการทำลาย: ดูดกินเมล็ดข้าวอ่อน

คำแนะนำในการป้องกันกำจัด: ไม่จำเป็นต้องทำการป้องกันกำจัด

          สารเคมีที่ใช้ในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูชนิดนี้ ได้แก่

          คาร์บาริล - ดับบลิวพี  (ชนิดผงละลายน้ำ) ใช้ในอัตราสารออกฤทธิ์ 0.75 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 เฮกตาร์ เทียบเท่ากับ สารที่มีชื่อการค้าว่าเซวิน ใช้ในอัตรา 0.88 ลิตร ต่อพื้นที่ 1 เฮกตาร์ (6.25 ไร่)

          สารเคมีกำจัดแมลงเป็นสารผสมระหว่าง บีพีเอ็มซี กับ อัลฟาไซเปอร์มีทริน มีชื่อทางการค้าว่า ฟาสแทค-อาร์ ในอัตรา 0.8 ลิตร ต่อพื้นที่ 1 เฮกตาร์ (6.25 ไร่)

          คลอร์ไพรีฟอส - อีซี  (ชนิดน้ำมันละลายน้ำ) ใช้สารออกฤทธิ์ในอัตรา 0.4 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 เฮกตาร์ เทียบเท่ากับสารที่มีชื่อการค้าว่า ลอร์สแมน ในอัตรา 1.33 ลิตรต่อพื้นที่ 1 เฮกตาร์ (6.25 ไร่)

          มาลาไธออน ใช้ในอัตราสารออกฤทธิ์ 1 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 เฮกตาร์ เทียบเท่ากับสารที่มีชื่อการค้า มาลาไธออน อัตรา 1.75 ลิตรต่อพื้นที่ 1 เฮกตาร์ (6.25 ไร่)

           

         

 

 

 

 

 




ปุ๋ย ยาที่ใช้สำหรับในนาข้าว

ยากำจัดวัชพืช
ยากำจัดโรคพืช
ปุ๋ยสำหรับนาข้าว



Copyright © 2012 All Rights Reserved.
กากชาตรากระทิง คุณภาพดี ราคาถูก จัดส่งทั่วประเทศ บริษัท ทวีผลเกษตรธรรมชาติ จำกัด 770/60 หมู่6 แขวงจอมทอง เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150 โทรศัพท์ : 034-824563-4 แฟกซ์ : 034-823168 สายตรงแผนกขาย : 081-9354335, 081-62284995 E-mail : twpagri@hotmail.com www.ktkrating.com