ReadyPlanet.com
dot
dot
สินค้าของเรา
dot
bulletกากชากำจัดหอยเชอรี่
bulletกากชากำจัดปลาในบ่อกุ้ง
bulletสารกำจัดแมลงในสนามกอล์ฟ
bulletกากชาบรรจุกระสอบละ 50 Kg.
bulletโรงงานกากชาตรากระทิง
bulletเสียงจากเกษตรกร
dot
เกี่ยวกับหอยเชอรี่
dot
bulletหอยเชอรี่
dot
กากชาตรากระทิง
dot
bulletคุณสมบัติของกากชา
bulletวิธีการใช้กากชา
bulletแหล่งผลิตกากชา
dot
ปุ๋ย ยาสำหรับนาข้าว
dot
bulletปุ๋ยนาข้าว
bulletยากำจัดแมลง
bulletยากำจัดวัชพืช
bulletยากำจัดโรคพืช
dot
โรค แมลง ศัตรูพืชในนาข้าว
dot
bulletแมลงศัตรูพืชในนาข้าว
bulletวัชพืชในนาข้าว
bulletโรคต่างๆในข้าว
dot
การปลูกข้าว
dot
bulletการปลูกข้าวหอมมะลิ
bulletการทำนาดำ
bulletการทำนาหว่าน
bulletการทำนาหยอด
bulletการโยนกล้า
dot
พันธุ์ข้าว
dot
bulletพันธุ์ข้าว ไวต่อแสง
bulletพันธุ์ข้าว ไม่ไวต่อแสง
dot
เกี่ยวกับข้าว
dot
bulletการขาดธาตุอาหารของข้าว
bulletการเก็บรักษาข้าวเปลือก
bulletการเก็บเกี่ยว
bulletการตากข้าว
bulletศัตรูพืชในโรงเก็บข้าวเปลือก




การโยนกล้า

การปลูกข้าวโดยวิธีการโยนกล้า (parachute)

    การพัฒนาการทำนา โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมได้อย่างเหมาะสม ทำให้การทำนาในเขตชลประทานได้ผลผลิตสูงกว่าในเขตนาน้ำฝนของประเทศ และสามารถผลิตข้าวได้มากกว่าปีละ 1 ครั้ง เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูกข้าวโดยวิธีการหว่านน้ำตม ใช้พันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง อายุสั้น เก็บเกี่ยวข้าวด้วยเครื่องเกี่ยวนวด ดยเฉพาะพื้นที่นาชลประทานในภาคกลาง ใช้อัตราเมล็ดพันธุ์สูง ซึ่งปัจจุบันราคาเมล็ดพันธุ์กิโลกรัมละ 20-23 บาท และเมล็ดพันธุ์ดีก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการ นอกจากนี้การทำนาอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็น 2 ปี 5 ครั้ง หรือ ปีละ 3 ครั้ง ย่อมส่งผลกระทบถึงสภาพแวดล้อม เช่น ปัจจุบันการทำนาในภาคกลางประสบกับ ปัญหาข้าววัชพืช ระบาดอย่างรุนแรง เกษตรกรที่ทำนาแบบหว่านน้ำตม ส่วนหนึ่งเปลี่ยนวิธีการทำนาเป็นการปักดำด้วยเครื่องปักดำเพื่อควบคุมปริมาณข้าววัชพืช ปัญหาที่ตามมาก็คือ เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่สามารถเตรียมดินให้เหมาะสมกับการทำงานของเครื่องปักดำได้ และอัตราค่าปักดำค่อนข้างสูงคือ ไร่ละ 1,100-1,200 บาท (รวมเมล็ดพันธุ์ข้าว) วิธีการปลูกข้าวแบบโยนกล้า เป็นการทำนาแบบใหม่ที่สามารถนำมาใช้แทนการปักดำด้วยเครื่องได้

 

แนะนำให้เป็นทางเลือกในพื้นที่

    1. พื้นที่ปัญหาข้าววัชพืชมาก

    2. ผลิตในศูนย์ข้าวชุมชนหรือไว้ใช้เองได้

    3. ผลิตข้าวอินทรีย์ เพื่อควบคุมข้าววัชพืช

    4. ประหยัดเมล็ดพันธุ์

 

         เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าแต่ได้ผลผลิตไม่ตกต่างจากการปักดำด้วยเครื่องหรือการหว่านน้ำตม แต่สามารถควบคุมวัชพืช โดยเฉพาะข้าววัชพืช ที่กำลังระบาดอย่างรุนแรงในหลายพื้นที่ในภาคกลาง

 

ตาราง 1 เปรียบเทียบต้นทุน (บาท/ไร่) ของการปลูกข้าวปทุมธานี1 ด้วยวิธีการปลูกแบบต่างๆ

(ไม่รวมค่าสารเคมีป้องกันกำจัดโรค แมลง และน้ำมันสูบน้ำเข้านา) /ปรับปรุงจาก นิตยาและคณะ, (2549)

 

 

ขั้นตอนการทำนา

หว่านน้ำตม

นาดำ

โยนกล้า

1.เตรียมดิน 

610

610

610

2. เมล็ดพันธุ์       

345

138

92

3. ตกกล้า         

-

300

300

4. หว่าน (ปักดำ โยนกล้า) 

40

672

50

5. ปุ๋ย                        

948

948

948

6.สารเคมีคุมวัชพืช         

200

-

-

7. เก็บเกี่ยว                

600

600

600

8. รวมต้นทุน      

2,743

3,268

2,600

9. ผลผลิต                 

775

875

880

 

การตกกล้า

      ตกกล้าในกระบะเพาะกล้าที่มีลักษณะเป็นหลุม ตามลำดับดังนี้

โยนกล้า

1. ใส่ดินในหลุมประมาณ ครึ่งหนึ่งของหลุมโยนกล้า

2. หว่านเมล็ดข้างงอกลงในหลุมโดยใช้อัตรา 3-4 กก./ 60-70 ถาด/ไร่

3. ใส่ดินปิดเมล็ดพันธุ์ข้าว ระวังอย่าให้ดินล้นออกมานอกหลุม

เพราะจะทำให้รากข้าวที่งอกออกมาพันกัน เวลาหว่านต้นข้าวจะไม่กระจายตัว

4. หาวัสดุ เช่นกระสอบป่าน คลุมถาดเพาะ เพื่อเวลารดน้ำจะได้ไม่กระเด็นรดน้ำเช้า เย็น ประมาณ 3-4 วัน ต้นข้าวจะงอกทะลุกระสอบป่าน ให้เอากระสอบป่านออก แล้วรดน้ำต่อไป จนกล้าอายุ 15 วัน

5. นำกล้าที่ได้ไปหว่านในแปลงที่เตรียมไว้ ให้สม่ำเสมอ การตกกล้า 1 คน สามารถตกได้ 2 ไร่ (140 กระบะ) /วัน

 

 

การเตรียมแปลง

        ไถดะครั้งที่ 1 หลังเก็บเกี่ยวข้าวปล่อยแปลงให้แห้งประมาณ 15-30 วัน แล้วปล่อยน้ำเข้าพอให้ดินชุ่มประมาณ 5-10 วัน เพื่อให้วัชพืชและเมล็ดข้าวที่ร่วงหล่นในดินงอกขึ้นมาเป็นต้นอ่อนเสียก่อนจึงไถดะครั้งที่

 

        ไถแปร หลังจากการไถดะครั้งที่ 1 แล้ว ปล่อยทิ้งไว้ 10-15 วันโดยรักษาระดับน้ำเพียงแค่ดินชุ่ม เพื่อให้เมล็ดวัชพืชและเมล็ดข้าวที่หลงเหลืออยู่งอกขึ้นมาอีกแล้วจึงไถแปร

 

        คราดหรือทุบ หลังจากการไถแปรครั้งที่ 2 แล้ว ปล่อยทิ้งไว้ 10-15 วันโดยรักษาระดับน้ำเพียงแค่ดินชุ่ม เพื่อให้เมล็ดวัชพืชและเมล็ดข้าวที่หลงเหลืออยู่งอกขึ้นมาอีกแล้วคราดหรือทุบจะช่วยทำลายวัชพืชได้มาก หรือหลังจากไถดะ ไถแปรและคราดเสร็จแล้วเอาน้ำขังแช่ไว้ประมาณ 3 สัปดาห์ เพื่อให้ลูกหญ้าที่เป็นวัชพืชน้ำ เช่น ผักตบ ขาเขียด ทรงกระเทียม ผักปอดและพวกกกเล็ก เป็นต้น งอกขึ้นเสียก่อน เพราะเมล็ดวัชพืชปกติจะงอกภายใน 5-7 วันหลังจากน้ำนิ่งโดยเฉพาะนาที่น้ำใส เมื่อลูกหญ้าขึ้นแล้วจึงคราดให้ละเอียดอีกครั้งหนึ่ง ลูกหญ้าก็จะหลุดลอยไปติดคันนาทางใต้ลม ก็จะสามารถช้อนออกได้หมด เป็นการทำลายวัชพืชวิธีหนึ่ง

 

        สำหรับผู้ที่ใช้ลูกทุบหรืออีขลุก ย่ำฟางข้าวให้จมลงในดินแทนการไถ หลังจากย่ำแล้วควรจะเอาน้ำแช่ไว้ให้ฟางเน่าเปื่อยจนหมดความร้อนเสียก่อนอย่างน้อย 3 สัปดาห์แล้วจึงย่ำใหม่ เพราะแก๊สที่เกิดจากการเน่าเปื่อยของฟางจะเป็นอันตรายต่อต้นข้าวจะทำให้รากข้าวดำไม่สามารถจะหาอาหารได้

 

        ระบายน้ำออกเพื่อปรับเทือก ปรับพื้นที่ให้สม่ำเสมอ เมื่อคราดแล้วจึงระบายน้ำออกและปรับเทือกให้สม่ำเสมอ กระทำได้ด้วยการใช้น้ำในนาเป็นเครื่องวัด โดยให้น้ำในนามีระดับเพียงตื้นๆ ขนาดเพียงท่วมหลังปูก็จะเห็นว่าพื้นที่นาราบเรียบเพียงใดอย่างชัดเจน เมื่อเห็นว่าส่วนใดยังไม่สม่ำเสมอก็ควรจะปรับเสียใหม่ การปรับพื้นที่นาหรือปรับเทือกให้สม่ำเสมอจะทำให้ควบคุมน้ำได้สะดวก

 

        การโยนกล้า ให้มีน้ำในแปลงประมาณ 1 ซม. นำกระบะกล้าข้าวที่มีอายุ 15 วัน ไปวางรายในแปลงที่เตรียมไว้ให้กระจายสม่ำเสมอ อัตรา 60-70 กระบะต่อไร่ จากนั้นคนที่จะโยนกล้าจะหยิบกระบะกล้ามาวางพาดบนแขน แล้วใช้มือหยิบกล้าข้าวหว่านหรือโยนในแปลง โดยโยนให้สูงกว่าศรีษะ ต้นกล้าจะพุ่งลงโดยใช้ส่วนรากที่มีดินติดอยู่ลงดินก่อน การหว่านกล้า 1 คน สามารถหว่านได้วันละ 4- 5 ไร่

 

        การดูแลรักษาระดับน้ำ วันหว่านกล้าให้มีน้ำในแปลงประมาณ 1 ซม. (ท่วมหลังปู) หลังจากนั้นประมาณ 3 วัน ต้นข้าวตั้งตัวได้แล้ว สามารถเพิ่มระดับน้ำให้อยู่ที่ระดับครึ่งหนึ่งของต้นข้าว หรือประมาณ 5 ซม. เพื่อการควบคุมวัชพืช

 

        การเก็บเกี่ยว เก็บเกี่ยวข้าวที่ระยะที่เหมาะสม คือหลังจากข้าวออกดอก (75 %) แล้ว 28-30 วัน จะมีความชื้นประมาณ 22 %  กรณีไม่ถูกฝนช่วงเก็บเกี่ยว  ซึ่งจะเกิดความสูญเสียทั้งด้านปริมาณและคุณภาพน้อยที่สุด  จะทำให้ได้ข้าวที่มีน้ำหนักดีที่สุด มีการร่วงหล่นและสูญเสียขณะเก็บเกี่ยวน้อยที่สุด ผลผลิตมีคุณภาพดี ข้าวที่เก็บไว้สีเป็นข้าวมีคุณภาพการสีสูง  ข้าวที่เก็บไว้เป็นเมล็ดพันธุ์สามารถเก็บรักษาไว้ได้นานอย่างน้อย 7-9 เดือน เสื่อมความงอกช้า

 

ข้อได้เปรียบของวิธีการโยนกล้าเปรียบเทียบกับการปักดำและหว่านน้ำตม

       1. แปลงที่มีลักษณะหล่มก็สามารถเตรียมแปลงเพื่อการหว่านต้นกล้าได้ แต่ไม่สามารถปลูกโดยวิธีการปักดำด้วยเครื่องปักดำได้ เนื่องจากเครื่องจะติดหล่ม

       2. ใช้อัตราเมล็ดพันธุ์น้อยกว่าการหว่านน้ำตมและการปักดำ

       3. สามารถควบคุมและลดปริมาณวัชพืชและข้าววัชพืชได้ดีกว่าการทำนาหว่านน้ำตม

       4. ลดการสารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูข้าวเมื่อเทียบกับการหว่านน้ำตม

 

 




การปลูกข้าว

การปลูกข้าวหอมมะลิ
การทำนาดำ
การทำนาหยอด
การทำนาหว่าน



Copyright © 2012 All Rights Reserved.
กากชาตรากระทิง คุณภาพดี ราคาถูก จัดส่งทั่วประเทศ บริษัท ทวีผลเกษตรธรรมชาติ จำกัด 770/60 หมู่6 แขวงจอมทอง เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150 โทรศัพท์ : 034-824563-4 แฟกซ์ : 034-823168 สายตรงแผนกขาย : 081-9354335, 081-62284995 E-mail : twpagri@hotmail.com www.ktkrating.com